วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2551

บทความ เรื่องการวิจัยข้อมูลย้อนหลัง (Ex post facto Research)

การวิจัยข้อมูลย้อนหลัง (Ex post facto Research)

นาวาเอกหญิง วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร
การจัดประเภทของการวิจัยมีมากมายหลายประเภท และมีความซ้ำซ้อนกันระหว่างเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งแต่ละประเภท ในการเลือกใช้การวิจัยประเภทใด นักวิจัยจะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อจะได้เลือกประเภทของการวิจัยได้เหมาะสมกับประเด็นปัญหาวิจัยที่ต้องการศึกษา โดยทั่วไปในการเลือกใช้ประเภทของการวิจัยควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย เป้าหมายที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ลักษณะของปัญหาการวิจัย ลักษณะวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรในการดำเนินการวิจัย (พิชิต :2544)
ประเภทของการวิจัย
1. การใช้เกณฑ์ประโยชน์ของการวิจัย แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
1.1 การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธ์ (basic or pure research)
1.2 การวิจัยประยุกต์ (applied research)
1.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research)
2. การใช้เกณฑ์ระเบียบวิธีวิจัย แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
2.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research)
2.2 การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research)
2.3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
3. การใช้เกณฑ์ลักษณะการเก็บข้อมูล แบ่งการวิจัยได้เป็น ๒ ประเภท คือ
3.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research)
3.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
4. การใช้เกณฑ์จุดมุ่งหมายในการวิจัย แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
4.1 การวิจัยเพื่อการสำรวจขั้นต้น (exploratory research)
4.2 การวิจัยเพื่อการอธิบาย (explanatory research)
4.3 การวิจัยเพื่อการทำนาย (prediction research)
5. การใช้เกณฑ์ชนิดของข้อมูล แบ่งการวิจัยได้เป็น ๒ ประเภท คือ
5.1 การวิจัยเชิงประจักษ์ (empirical research)
5.2 การวิจัยเชิงวิพากษ์วิจารณ์ หรือ การวิจัยเชิงไม่ประจักษ์ (nonempirical research)
6. การใช้เกณฑ์ลักษณะการศึกษากับตัวแปร แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
6.1 การวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)
6.2 การวิจัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วหรือการศึกษาย้อนหลัง(ex post focto research)
6.3 การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research)
7. การใช้เกณฑ์สาขาวิชาหรือศาสตร์ที่ใช้ศึกษา แบ่งการวิจัยได้เป็น ๕ ประเภท คือ
7.1 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science research)
7.2 การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science research)
7.3 การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (social science research)
7.4 การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science research)
7.5 การวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary research)
8. การใช้เกณฑ์ของลักษณะธรรมชาติ แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
8.1 การวิจัยเชิงประเมิน (evaluation research)
8.2 การวิจัยเชิงนโยบาย (policy research)
8.3 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (historical research)
9. การใช้เกณฑ์ระดับความเข้มของการควบคุมตัวแปร แบ่งการวิจัยได้เป็น ๓ ประเภท คือ
9.1 การวิจัยในห้องปฏิบัติการ (laboratory research)
9.2 การวิจัยสนาม (field research)
9.3 การวิจัยเอกสาร (documentary research)
ตามข้อ 6.2 การวิจัยข้อมูลย้อนหลังเป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยที่น่าสนใจ ที่ผู้วิจัยพิจารณาผลที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1.ความหมาย
Ex post facto Research เป็นคำที่มาจากภาษาลาตินหมายถึง “after the fact”
เป็นวิธีการขุดคุ้ยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วและผู้สังเกตไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์นั้นได้ (Cohen and Manion, 1996:146)
การวิจัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ทั้งตัวแปรต้นและตัวแปรตามที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลกับตัวแปรตาม แล้วพิจารณาย้อนไปค้นหาว่าเกิดจากตัวแปรต้นใดบ้าง เช่น การศึกษาว่าเด็กมีบุคลิกภาพแตกต่างกันนั้นเกิดจากสาเหตุใด หรือศึกษาว่าการที่เด็กสอบตกนั้นเกิดจากสาเหตุใด (พวงรัตน์, 2540: 20)
การวิจัยข้อมูลย้อนหลัง หรือการเปรียบเทียบสาเหตุ (Causal-Comparative) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของเหตุและผล ในสภาพการของการทำการวิจัยที่มีลักษณะสำคัญ 2 ประการที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ คือ ทำการทดลองโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อการวิจัย และการปรับเปลี่ยนกลุ่มของการสุ่มตัวอย่าง (McMillan and Schumaker 1989: 336)

2.วัตถุประสงค์หลัก
เพื่อสืบค้นเงื่อนไขที่เกิดขึ้นมาก่อนว่ามีสาเหตุความเป็นไปได้ตามลำดับ ในส่วนที่แตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้วิจัยดูเงื่อนไขที่เกิดขึ้นแล้ว จากนั้นรวบรวมข้อมูลเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมที่ตามมา ในการวิจัยข้อมูลย้อนหลัง ผู้ค้นหามีความพยายามที่จะหาไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มของตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการสังเกตที่ต่างจากตัวแปรตาม (McMillan and Schumaker 1989: 336)

3.ลักษณะสำคัญ
เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นการผิดจริยธรรมที่จะทำการเปลี่ยนแปลงตัวแปรในการทำการวิจัย เช่น เชื้อชาติ บุคลิกภาพ หรือสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การวิจัยข้อมูลย้อนหลังจึงเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่หาคำตอบเพื่อตอบคำถามผ่านการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ดูเหมือนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เฉพาะที่มาจากผลลัพธ์ หรือเงื่อนไข หรือรูปแบบของพฤติกรรมนั้นๆ เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมปฏิบัติเพื่อให้เหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นมา การวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตเป็นเพียงหนทางที่เป็นไปได้ในการศึกษาถึงสาเหตุ การศึกษาแบบนี้มักอ้างอิงถึงในการวิจัยข้อมูลย้อนหลัง หรือการศึกษาโดยอธิบายจากการสังเกต หรือการวิจัยสาเหตุเพื่อการเปรียบเทียบ (Best and Kahn, 1986:98)

4.ข้อจำกัด
ข้อจำกัดที่เป็นอันตรายอย่างมากที่สุดคือ post hoc fallacy เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 2 เหตุการณ์ อย่างแรกคือ เหตุ และอีกอย่างคือผล เช่นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปีที่เข้ารับการศึกษาจนจบการศึกษากับรายได้ที่ได้รับว่า จำนวนปีที่อยู่ในโรงเรียนจะเพิ่มรายได้เป็นจำนวนหนึ่งในแต่ละชั้นปีที่สำเร็จการศึกษาหรือไม่ ซึ่งแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ยังมีเงื่อนไขอื่นที่มีอิทธิพลต่อผู้เรียนที่มีความสำคัญมากกว่าระดับการศึกษาที่จบ เช่น สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ความอดทน ความกระตือรือร้น ความตั้งใจ ความพอใจ หรือความเฉลียวฉลาดที่เป็นนัยสำคัญทำให้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ระยะเวลาการอยู่ในโรงเรียนอาจเป็นเพียงเครื่องหมายชี้บอกมากกว่าสาเหตุที่มาก่อน คำอธิบายประกอบอื่นๆ จึงควรต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย
การวิจัยย้อนหลังมีการใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ และการศึกษา ถึงแม้จะเป็นไปไม่ได้ที่จะปรับเปลี่ยนตัวแปรในด้านทัศนคติ ความฉลาด บุคลิก วัฒนธรรม ความสามารถของครูผู้สอน หรือตัวแปรอื่นๆ ในความเป็นมนุษย์ แต่การวิจัยแบบนี้ก็ยังคงมีการใช้กันอยู่ ซึ่งข้อจำกัดที่ควรคำนึงถึงพอสรุปได้ ดังนี้
1) ตัวแปรอิสระไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลง
2) กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกลุ่มทดลอง
3) สาเหตุมักเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุมากกว่าสาเหตุเดียว
ดังนั้นการตีความของสาเหตุต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ การทดสอบสมมุติฐานของ
การวิจัยย้อนหลังจึงไม่ควรพิจารณาเพียงสาเหตุเดียว แต่ต้องนำหลายๆ สิ่งเข้ามาประกอบด้วยเพื่อการตีความหมายจะได้เป็นประโยชน์ต่อระเบียบวิธีการพัฒนาองค์ความรู้ (Best 1978: 152)

5.แนวทางสำหรับการออกแบบการวิจัย
การวิจัยย้อนหลังมักเกิดความสับสนโดยง่ายกับการวิจัยแบบทดลองและกึ่งทดลอง เพราะแบบการวิจัยทั้งสาม มีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน คือวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันและมีการหาความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล, มีกลุ่มเปรียบเทียบ, มีการวิเคราะห์ทางสถิติที่มีการใช้คำศัพท์ในการตีความอธิบายผลที่คล้ายคลึงกัน การวิจัยแบบทดลองและกึ่งทดลอง ผู้วิจัยควบคุมผลของเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ การที่การวิจัยย้อนหลังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเพราะสาเหตุได้เกิดขึ้นแล้วก่อนทำการศึกษา ทั้งนี้ การวิจัยย้อนหลังมักทดสอบกลุ่มควบคุมที่เป็นปัจจัยสามารถก่อให้เกิดความสับสนต่อการวิจัยที่นำไปสู่่การทดลอง นอกจากนี้ การวิจัยย้อนหลังยังสับสนกับการวิจัยแบบสหสัมพันธ์ (Correlation Research) เพราะการวิจัยทั้งสองแบบเกี่ยงข้องกับความไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และมีข้อจำกัดคล้ายคลึงกันในการตีความผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น การวิจัยย้อนหลังยังพยายามแยกแยะความสัมพันธ์ของสาเหตุและมักเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ทำการเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม หรือมากกว่า ขณะที่การศึกษาแบบสหสัมพันธ์ใช้ 1 และ 2 กลุ่ม หรือมากกว่าเพื่อการสังเกตสมาชิกในแต่ละกลุ่มนั้นๆ (McMillan and Schumaker 1989: 336)

6.แบบของการวิจัยโดยทั่วไป
การวิจัยแบบทดลอง นักวิจัยค้นหาปัญหาจากการสังเกตว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น โดยมุ่งไปที่เงื่อนไขที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่การวิจัยย้อนหลังจะอยู่ในสถานการณ์ของปัญหาที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นการวิจัยแบบก่อนการทดลอง (pre-experimental designs) (พวงรัตน์ 2540: 59) เช่น อยากรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด ผู้วิจัยไม่สามารถทำการทดลองโดยให้กลุ่มหนึ่งสูบบุหรี่จนเกิดโรค และอีกกลุ่มหนึ่งไม่สูบได้ เพราะเป็นการผิดจริยธรรม แต่ที่ทำได้คือเก็บข้อมูลย้อนหลังจากผู้ที่เป็นโรคมะเร็งปอดแล้ว และมาทำการศึกษา (McMillan and Schumaker 1989: 335-336)

7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยสามารถใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ สเกล และการสังเกต ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น สถานการณ์ ความเหมาะสม หรืองบประมาณที่ทำการวิจัย ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยยังไม่มีเครื่องมือใดที่สมบูรณ์แบบในการทดสอบสมมุติฐาน เพราะเครื่องมือแต่ละชนิดล้วนมีจุดอ่อนและจุดแข็งในตัวเอง ดังนั้น ความเชื่อมั่นจะมีมากขึ้นหากใช้เครื่องมือในการทดสอบมากกว่าหนึ่งชนิด (Dalen 1973:317-318)

8.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นแรกเป็นการตั้งปัญหา ซึ่งประกอบด้วยสาเหตุที่เป็นไปได้ของตัวแปรตาม ทางเลือกที่เป็นไปได้ของสาเหตุขึ้นอยู่กับการวิจัยก่อนหน้านี้และการตีความของนักวิจัยจากการสังเกตปรากฏการณ์ขณะทำการศึกษา เช่น นักวิจัยต้องการหาผลกระทบของขนาดของห้องเรียนที่สัมฤทธิ์ผล และเป็นไปไม่ได้ที่จะทำการทดลองโดยจัดให้นักเรียนมีจำนวนในแต่ละห้องที่แตกต่างกัน ซึ่งความสนใจของนักวิจัยอยู่บนพื้นฐานของสหสัมพันธ์ที่แสดงความสัมพันธ์ในทางลบระหว่างขนาดของห้องเรียน ผลสัมฤทธิ์ และการสังเกตว่านักเรียนที่เรียนในห้องขนาดเล็กกว่าดูเหมือนได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีกว่า ปัญหาของผู้วิจัยคือ อะไรเป็นผลของขนาดห้องเรียนต่อความสัมฤทธิ์ของการเรียน
ขั้นที่สอง เป็นการแจกแจงสมมุติฐานที่อาจเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ ผู้วิจัยอาจจะเรียงลำดับสาเหตุที่เป็นไปได้ต่อความสัมฤทธิ์ผลของห้องเรียนขนาดเล็กในหลายๆ ปัจจัย เช่น ห้องเรียนขนาดเล็กมีครูที่ดีกว่า, นักเรียนที่มีความสามารถสูงอยู่ในห้องขนาดเล็ก, นักเรียนมีแรงจูงใจสูงในห้องเรียนขนาดเล็ก, นักเรียนมาจากพื้นฐานที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูง และบางทีครูในห้องเรียนขนาดเล็กใช้วิธีการสอนที่แตกต่างจากห้องที่มีขนาดใหญ่ ปัจจัยแต่ละอย่างเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กับเหตุสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในห้องเรียนขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่
ขั้นที่สาม เลือกกลุ่มที่จะนำมาเปรียบเทียบ ประการแรก นักวิจัยต้องนิยามขนาดของห้องเรียนใหญ่และเล็กรวมทั้งคำว่าสัมฤทธิ์ผล เช่น ห้องเรียนขนาดเล็กอาจมีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า และห้องเรียนขนาดใหญ่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า ส่วนสัมฤทธิ์ผลอาจหมายถึง นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นขณะอยู่ในชั้นเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังต้องชี้ว่า การเรียนรวมถึงระดับชั้นเรียนและสถานที่ เช่นนักวิจัยสนใจศึกษาระดับประถมศึกษาและจากโรงเรียนเดียว ดังนั้น จึงมีการหาตัวแปร และเลือกจากกลุ่มที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อนักวิจัยเลือกกลุ่มที่มีความต่างกันด้านขนาดแล้ว ยังต้องมีความคล้ายคลึงด้านความสามารถ พื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม วิธีการสอน คุณภาพของครู และแรงจูงใจของนักเรียน การจับคู่่นับเป็นวิธีที่ดีในการจัดกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตัวแปรตาม ฉะนั้น นักวิจัยจึงทำการวิเคราะห์เฉพาะกับนักเรียนที่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันเท่านั้น แม้ว่าจะมีนักเรียนอื่นอยู่ในห้องเรียนนั้นก็ตาม
ขั้นการตีความผลของการวิจัยย้อนหลัง เป็นขั้นที่ยุ่งยากพอสมควร เพราะการอธิบายความเหตุและผลทำได้แต่เฉพาะเหตุเท่านั้น เช่นถ้าพบว่ามีความแตกต่างทางสัมฤทธิ์ผลของนักเรียนในห้องเรียนขนาดเล็กและใหญ่ จากนั้น นักวิจัยสามารถสรุปว่า ขนาดของห้องเรียนและความสัมฤทธิ์ผลมีความสัมพันธ์กัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของนักวิจัยในการเลือกกลุ่มเปรียบเทียบที่มีความคล้ายคลึงกันด้วย (McMillan and Schumaker 1989: 338)

9.การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยข้อมูลย้อนหลังมีวิธีการวิเคราะห์คล้ายคลึงกับการวิจัยแบบทดลองและกึ่งทดลอง โดยการเปรียบเทียบตัวแปรที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลการศึกษาขนาดของห้องเรียนต่อความสัมฤทธิ์ผลสามารถนำมาวิเคราะห์ในทางสถิติเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่มีต่อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ (McMillan and Schumaker 1989: 338)

10.ข้อเสนอแนะเพื่อความเชื่อมั่นและความเชื่อถือได้
การวิจัยย้อนหลังมีความสำคัญมากในทางการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่แล้วที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เห็นว่าการวิจัยแบบนี้มีวิธีการที่อ่อนแอตามแนวทางวิทยาศาสตร์ที่มีการทดลองได้ และอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด
ดังนั้น การทำการวิจัยจึงต้องกระทำอย่างรอบคอบและอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการทดสอบสมมุติฐานให้ได้คำตอบที่มีความเชื่อมั่นและเชื่อถือได้ (Cohen and Manion, 1996:150)


------------------

ผู้เขียนบทความ:
นาวาเอกหญิง วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาหลักการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
-ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสนศาสตร์ วิชาเอกนโยบายสาธารณะและการบริหารโครงการ
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2529)
-ปริญญาโท ศิลปศาสตร์ สถาบันภาษา สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2549)
-กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มวิชาการสอนภาษาอังกฤษ)
มหาวิทยาลัยศิลปากร



Reference

Best, J.W., Research in Education. New Delhi: Prentice-Hall of India, 1978.
Best, J.W., and Kahn, Research in Education, New York: Prentice-Hall, 1986.
Cohen, L and Manion. Research Method in Education, London: Groom Helm
Ltd., 1996.
Dalen, Van. Understanding Educational Research: an Introduction (3 ed.), New
York:McGraw-Hill Book Company, 1973.
Kumar, Ranjit. Researcg Methodology. Malaysia: SAGE Publications,1999.
Mason J.E. and Bramble J.B. Research in Education and Behavioral Sciences:
Concept and Methods. IA: Brown and Benchmark Publishers, 1997.
McMillan, James H., and Schumacher, Sally. Research Education: A
Conceptual Introduction (2 ed.). USA: Harper Collins Publishers, 1989.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ: 2540.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชัฏพระนคร.
กรุงเทพฯ: 2544.



----------------

























Ex Post Facto Research

Captain Vipada Poonsakvorasan, WRTN


This article is about Ex Post Facto Research which answering 10 questions below:

1.What is it (=a research method)?
Very often, research is conducted on effects that have taken place in the past. This kind of research is usually called ex post facto since it is Latin for “after the fact”
Ex post facto Research is a method of teasing out possible antecedents of events that have happens and cannot, therefore, be engineered or manipulates by the investigator. (Cohen and Manion, 1996:146)
This is a situation, then, in which it is desirable to study cause-and-effect relationships, but the circumstances of the research are such that two crucial characteristics of experimental research, manipulation of conditions and random assignment of groups, cannot be carried out. The type of design most frequently used
in these situations is called ex post facto, or causal-comparative. (McMillan and Schumaker 1989: 336)

2.What are its main purpose?
The purpose of ex post facto research is to investigate whether one or more pre-existing conditions have possibly caused subsequent differences in the groups of subjects. In other words, the researcher looks to conditions that have already occurred and then collects data to investigate the relationship of these varying conditions to subsequent behavior. In ex post facto research the investigator attempts to determine whether differences between groups (the independent variable) has resulted in an observed difference on the dependent variable. (McMillan and Schumaker 1989: 336)

3.What are its main characteristics?
Descriptive research seeks to find answers to questions through the analysis of variable relationships. What factors seem to be associated with certain occurrences, outcomes, conditions, or types of behavior? Because it is often impracticable to arrange occurrences, an analysis of past events may be the only feasible way to study causation. This type of study is usually referred to as ex post facto or explanatory observational studies or causal-comparative research. (Best and Kahn, 1986:98)
It is either simply impossible or unethical to manipulate such variables as single or couple parenting, day care attendance or choice of college by students, as well as many other variables like race, socioeconomic status, and personality. A researcher would probably have some difficulty assigning children on a random basis to either attend or not attend day care.

4.What are its limitations?
One of the most serious dangers of ex post facto designs is the post hoc fallacy, the conclusion that, because two factors go together, one is the cause and the other the effect. Because there seems to be a high relationship between the number of years of education completed and earned income, many educators have argued that staying in school will add an x number of dollars of income over a period of time for each additional year of education completed. Although there may be such a relationship, it is also likely that some of the factors that influence young people to seek additional education are more important than the educational level completed. Such factors as socioeconomic status, persistence, desire, willingness to postpone immediate gratification, and intelligence level are undoubtedly significant factors in vocational success. Staying in school may be a symptom rather than the prevailing cause. The association explanation, however, is one that should always be examined carefully.
Ex post facto research is widely and appropriately used, particularly in the behavioral sciences. In education, since it is impossible, impracticable, or unthinkable to manipulate such variables as aptitude, intelligence, personality traits, cultural deprivation, teacher competence, and some variables that might present an unacceptable threat to human beings, this method will continue to be used.
However, its limitations should be recognized:
1) The independent variables cannot be manipulated.
2) Subjects cannot be randomly assigned to treatment groups.
3) Causes are often multiple rather than single.
Since there is danger of confusing symptoms with causes, Ex post facto research should test not one, but all other logical alternate or competing hypotheses. Properly employed and cautiously interpreted, it will continue to provide a useful methodology for the development of knowledge.
Students who have completed a course in research methods should be sensitive to the operation of extraneous variables that threaten the validity of conclusion. In “Educational Piltdown Men,” Gene V Glass cautions educators of the need for critical analysis of reported research. He cites a number of interesting examples of carelessly conducted studies that resulted in completely false conclusions. Unfortunately, these conclusions were accepted by gullible readers and widely reported in popular periodicals and some educational psychology textbooks.
The author trusts that the experience of the introductory course in educational research will help students and educators to read research reports more carefully and to apply more rigorous standards of judgment. (Best 1978: 152)

5.What are general guidelines for designing it?
Ex post facto designs are easily confused with experimental and quasi-experimental designs because all three types of designs have some common characteristics: a similar purpose, to determine cause-effect relationships; group comparisons; and the use of similar statistical analyses and vocabulary in describing the results. In experimental and quasi-experimental studies, however, the researcher deliberately controls the effect of some condition by manipulation of the independent variable, while in ex post facto research there is no manipulation of conditions because the cause has already occurred before the study is initiated. In ex post facto designs, therefore, there is usually a treatment and a control group, a factor that can further confuse the research with experimental approaches.
Ex post facto designs are also confused with correlational research, because both involve no manipulation and there are similar limitations in interpreting the results. Ex post facto designs, however, attempt to identify causal relationships, while correlational research generally does not. Ex post facto designs also usually involve two or more groups that are compared, while correlational studies use one group and two or more observations on each member of the group. (McMillan and Schumaker 1989: 336)

6.What are its typical research designs?
Pre-experimental designs are descriptive research for ex post facto research designs. (Poungrut, 2000: 59) In experimental and single-subject designs, the researcher investigates a problem by observing what will happen. In other words, the research approach is to manipulate conditions, observe what happens, and then record the results. There are however, many situations and research problems that exclude this approach because manipulation of condition is impossible. Consider the following list of research questions. In each case the implied cause-and effect relationships rule out experimental manipulation.
- What is the effect of attendance at day care on the social skills of children?
- What is the effect of single parenting on achievement?
- Do teachers who graduate from liberal arts colleges have greater longevity in the
teaching field than teachers who graduate from colleges of education?
- What is the relationship between participation in extracurricular activities and
self-concept? (McMillan and Schumaker 1989: 335-336)
- What are the causes of lungs cancer?

7.What are its typical research tools?
Its typical research tools are test, questionnaires, interview, scales and observation.
No single method of obtaining data to test a hypothesis is perfect. Each one had certain weakness which leave the door open for the possibility of rival hypotheses explaining the findings. A competent investigator, therefore gives consideration to collecting data by more than one method and also takes steps to minimize the error in each instrument he employs. If he utilizes a questionnaire, he may bolster the Self-supporting weak spot in this method by adding supplementary methods that have different methodological weakness, such as observing the subjects and interview their parents. If a hypothesis can survive the onslaught of a series of imperfect measures (the questionnaire, observation, and interview provide consistent results), greater confidence can be placed in it than if it is tested by one method. (Dalen 1973:317-318)

8.How to collect research data?
Although in ex post facto research the independent variable cannot be manipulated and random assignment of subjects to groups is impossible, there are several procedures that are used in planning ex post facto research that enhances control and limits plausible rival hypotheses. The first step is to formulate a research problem that includes possible causes of the dependent variable. The choice of possible causes is based on previous research and on the researcher’s interpretation of observations of the phenomena being studied. Suppose, for example, the researcher wants to investigate the effect of class size on achievement, and it is impossible to assign students randomly to different size classes to conduct a true experiment. The researcher’s interest many be based on correlational research that shows a negative relationship between class size and achievement and observations that students in smaller classes seem to do better. The research problem, then, is: What is the effect of class size on achievement?
A second step is to identify plausible rival hypotheses that might explain the relationship. The researcher might, for instance, list as possible causes of better achievement in smaller classes several factors like the following: smaller classes have better teachers; higher ability students are in smaller classes; students with higher motivation are in smaller classes; students from high socioeconomic backgrounds; and perhaps teachers of smaller classes use a different type of instruction than those of larger classes use. Each of these factors might be related to the reason students in smaller classes achieve more than students in large classes.
The third step is to find and select the groups that will be compared. In our example of class size and achievement, the researcher will first need to define operationally large and small class size as well as achievement. A small class could have fewer that fifteen students and a large class more than twenty-five. Achievement could be defined as the gain in knowledge of the students while in the class. The researcher also needs to indicate whether the study includes all grade levels and locations. Suppose in this case the researcher is interested in elementary grade levels and the accessible population is a single school district. Once the variables are defined, groups must be selected that are as homogeneous as possible in the characteristics that constitute rival hypotheses and that are different with respect to the independent variable. In our example, then, the researcher selects groups that differ with respect to class size but that are similar in such factors as ability, socioeconomic background, teaching methods, quality of teachers, and student motivation. Matching is a good approach to forming groups that will be as homogeneous as possible in factors affecting the dependent variable. For example, in our study of class size, the researcher could match and select students on the basis of initial ability so that only students with about the same level of ability are included in the analysis, even though other students are contained in the classes.
The forth step is to collect and analyze data on the subjects, including data on factors that may constitute rival hypotheses. Since ex post facto research is after the fact, most data that are needed have already been collected, and only the data from appropriate sources need to be gathered.
It must be stressed, in interpreting the results of ex post facto research, that cause-and-effect statements can be made only cautiously. In our example of large and small classes, if a difference in achievement is found between the groups, then the researcher can conclude that there is a relationship between class size and achievement. The results do not mean that being in either small or large classes had a causative effect on achievement. There may be a cause-and –effect relationship, but this depends on the researcher’s ability to select comparison groups homogeneous on all important variables except being in small or large classes, and by the confidence with which other plausible rival hypotheses can be ruled out. If, for example, it turned out that all the small classes came from one school and large classes from another, then policies or procedures unique to the schools and unrelated to class size (such as stress on basic skill attainment or a special training program for teachers) may constitute plausible rival hypotheses. (McMillan and Schumaker 1989: 338)

9.How to analyze its research data?
Data analysis is very similar to procedures used for experimental and quasi-experimental studies in that groups are compared on the variables of interest. In our proposed study of class size, for example, all achievement scares in the small class would be averaged and compared to the average achievement in large classes. Data from the extraneous variables are also compared and incorporated into the statistical analyses to help make judgements about plausible rival hypotheses. (McMillan and Schumaker 1989: 338)

10.What are the suggestions to make it more valid and reliable?
We much not conclude from what had just been said that ex post facto studies are of little value; many of our important investigations in education and psychology are ex post facto designs. There is often no choice in the matter: an investigator cannot cause one group to become failures, delinquent, suicidal, brain-damaged or dropouts. Research must of necessity rely on existing groups. On other hand, the inability of ex post facto designs to incorporate the basic need for control (e.g. through manipulation or randomization) makes them vulnerable from a scientific point of view and the possibility of their being misleading should be clearly acknowledges ex post facto designs are probably better conceived more circumspectly, not as experiments with the greater certainty that these denote, but more as surveys, useful as sources of hypothesis to be tested by more conventional experimental means at a later date. (Cohen and Manion, 1996:150)


---------------

บทความ เรื่องภาษา วัฒนธรรม กับการวิจัย

ภาษา วัฒนธรรม กับการวิจัย

ภาษามีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม...
อย่างยากที่จะมีการแยกออกจากกันได้

มนุษย์ต้องใช้ภาษาในการถ่ายทอดวัฒนธรรม และเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสารกันระหว่างในกลุ่มสังคมเดียวกัน อาจจะกล่าวได้ว่า ภาษาเป็นสิ่งแวดล้อมที่แสดงถึงแนวความคิด ค่านิยม และความนิยมในการกระทำต่างๆ ที่หมู่คนนั้นๆ ยอมรับ
สุพัตรา (2521) กล่าวไว้ในหนังสือสังคมวิทยาว่า วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่างๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ
Barry & Susan (1998) ในหนังสือ Cultural Awareness กล่าวถึงวัฒนธรรม (Culture ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร C ตัวใหญ่) มักหมายถึง ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถาบันต่างๆ วรรณคดี ศิลปะ ดนตรี และวิธีการดำเนินชีวิต ส่วนวัฒนธรรม (culture ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร c ตัวเล็ก) จะหมายถึงวัฒนธรรมทางพฤติกรรมที่มีความหมายครอบคลุมถึงอิทธิพลความเชื่อและการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่แสดงออกผ่านทางภาษา
ซึ่งหากจะถามว่าวัฒนธรรมหมายถึงอะไร คนส่วนใหญ่จะให้คำตอบที่สามารถจำแนกได้ตามตัวอย่างดังภาพข้างล่างนี้







ภาษากับวัฒนธรรม
ภาษามีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอย่างยากที่จะมีการแยกออกจากกันได้ Brown (2002) กล่าวไว้ในหนังสือ Methodology in Language Teaching ว่า ครูผู้สอนภาษาควรสอนวัฒนธรรม ค่านิยม ความคิด ความรู้สึกและการแสดงออกด้วยทุกครั้งควบคู่ไปกับการสอน ตั้งแต่การทักทาย การรับประทานอาหาร การดำเนินชีวิต และการกล่าวคำลาจาก เช่น ในวัฒนธรรมอเมริกันมีการทักทายด้วยการจับมือ ซึ่งคนไทยควรเข้าใจด้วยว่า หากฝ่ายหญิงไม่ได้ยื่นมือให้ก่อน ฝ่ายชายก็ไม่ควรยื่นมือเพื่อให้ฝ่ายหญิงจับ และถ้าการที่ฝ่ายชายยื่นมือให้ฝ่ายหญิงก่อน ตามมารยาทแล้วฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะไม่จับมือฝ่ายชายก็ได้ ไม่เป็นการผิดธรรมเนียมแต่อย่างใด การจับมือนั้นควรจับอย่างพอดีไม่แน่นเกินไปที่สื่อถึงความก้าวร้าว และไม่หลวมเกินไปที่สื่อถึงความเหมือนกับไม่ค่อยจริงใจต่อกัน
การยิ้มเป็นลักษณะการทักทายในวัฒนธรรมไทย การที่หญิงสาวส่งยิ้มและกล่าวคำทักทายให้กับชายหนุ่มก่อนเป็นการแสดงความเป็นมิตร ความรู้จักคุ้นเคย และเป็นการยอมรับความสัมพันธ์กันมากกว่าปกติธรรมดา สาวไทยมักจะไม่ยิ้มกับหนุ่มที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ถึงแม้หนุ่มคนนี้จะมาจ้องมองเธอหรือส่งยิ้มให้เธอก่อนก็ตาม ดังนั้นการยิ้มให้และการทักทายสำหรับสาวไทยและหนุ่มไทยจึงสื่อความหมายตามทำนองที่กล่าวมาแล้วถ้าสาวไทยคนไหนเดินไปสบตากับหนุ่มที่ยังไม่เคยรู้จักกันมาก่อน แล้วเกิดไปยิ้มให้พร้อมกับทักทาย หนุ่มไทยมักเหมาเอาว่าเธอทอดสะพานให้ หรือพูดอย่างชัดๆก็ว่า“ให้ท่ากัน”
แต่ในวัฒนธรรมของฝรั่งที่อเมริกา การยิ้มและการที่หญิงสาวเป็นฝ่ายทักชายหนุ่มขึ้นก่อนว่า “สวัสดีค่ะ” (Hi) มิได้สื่อความหมายอะไรมากกว่าการทักทายอย่างปกติธรรมดา สาวอเมริกันมักยิ้มและทักทายหนุ่มเช่นนี้เสมอเมื่อมีโอกาสสบตากัน ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และไม่ได้หมายถึงการทอดสะพานหรือการให้ท่าแต่ประการใดทั้งสิ้น หนุ่มไทยที่เพิ่งไปอเมริกาใหม่ ๆ ยังไม่เข้าใจว่าการใช้ภาษาท่าทางนั้นต้องพิจารณาดูความหมายในวัฒนธรรมของเขาก่อน พอสาวอเมริกันยิ้มให้พร้อมทักทายด้วยท่าทางเป็นกันเอง หนุ่มไทยก็เหมาเอาตามภาษาท่าทางในวัฒนธรรมไทยว่า เจ้าหล่อนทอดสะพานให้หรือให้ท่า จึงติดตามจีบเป็นพัลวัน ซึ่งในที่สุดส่วนมากก็จะรู้เองในภายหลังว่า การที่สาวเขายิ้มให้และกล่าวคำทักทายกับชายแปลกหน้านั้นเป็นภาษาท่าทางที่ไม่ได้รวมถึงการทอดสะพานหรือการให้ท่าอยู่เลยเหมือนอย่างใน วัฒนธรรมไทย (สุมิตร: 2524)

การสื่อความหมายที่ไม่ได้แสดงออกทางคำพูด (Nonverbal meaning)
การสื่อความหมายต่อกันมิได้กระทำได้เพียงการรับฟังเสียงที่พูดออกมาเท่านั้น แท้จริงแล้ว อากัปกิริยาที่แสดงออกโดยไม่ใช่คำพูดสามารถสื่อความหมายได้ดังกว่าคำพูดเสียอีก การประสานสายตา, การแสดงออกทางสีหน้า, การเคลื่อนไหวร่างกาย, ระยะห่าง, เวลา, ระยะทาง, ลักษณะท่าทาง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตีความหมายในการสื่อสาร นักวิจัยพบว่า เพียงแค่ร้อยละ 7 เท่านั้นที่เนื้อหามีความหมายที่แสดงมาจากคำพูด ซึ่งเป็นที่น่าตกใจว่า ผลจากการสื่อความหมายที่ไม่ได้มาจาก คำพูดมีถึงร้อยละ 93 ตามกราฟวงกลมที่แสดงให้ดูข้างล่าง










ที่มา: Alvino E. Fantini, (1977) New Ways in Teaching Culture. IL,USA

ถ้าคนพูดสื่อความหมายที่ขัดกับการแสดงออกที่ไม่ใช้คำพูด โดยทั่วไปคนจะมีแนวโน้มเชื่อการแสดงออกภาษากายมากกว่า อย่างไรก็ตาม การแสดงออกด้วยการสื่อความหมาย มักมีความหมายไม่เหมือนกันในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น การแบมือแล้วงอนิ้วชี้และนิ้วโป้งจรดปลายนิ้วมาใกล้กัน ในสหรัฐฯ หมายถึง OK ในฝรั่งเศส หมายถึง ศูนย์ ในญี่ปุ่น หมายถึงเงิน ในโมรอคโค หมายถึงผมจะฆ่าคุณ แต่ละชาติ ก็มีภาษากายเป็นของตนเอง ดังนั้น จึงต้องระมัดระวัง เพราะการแสดงออกของคุณ โดยไม่เจตนาอาจเป็นการเยาะเย้ยหรือล่วงเกินบางคนในบางประเทศ เช่น นักธุรกิจญี่ปุ่นมาจอดรถในสนามบินแห่งหนึ่งในที่เขาไม่เคยจอดมาก่อน เขาไขกระจกรถลง แล้วถามคนขับอีกคนหนึ่งที่อยู่บริเวณ ที่จอดรถนั้น ซึ่งที่จอดรถแห่งนี้บริการฟรีสำหรับชั้นธุรกิจ คนขับรถซึ่งเป็นคนอเมริกันตอบโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งมาจรดกันที่ปลาย ซึ่งเป็นภาษากายที่รู้จักกันว่า OK จอดได้ แต่ในญี่ปุ่นหมายถึงต้องเสียเงินค่าจอดรถ ขณะนั้น ชาวโมรอคโคคนหนึ่งกำลังมองดูคนทั้งสองสนทนาภาษากายกันคิดว่าคนอเมริกันกำลังบอกคนญี่ปุ่นว่า ผมจะฆ่าคุณ








อีกตัวอย่างหนึ่งคือผู้หญิงชาวอิตาลีคนหนึ่งที่อยู่ในห้องผู้โดยสารขาออก ถามคนอังกฤษว่า เก้าอี้ที่อยู่ติดกันกับที่เขานั่งอยู่ว่างไหม ซึ่งขณะนั้นว่างอยู่พอดี คนอังกฤษจึงตอบด้วยภาษากายที่เป็นธรรมดาของคนอังกฤษที่ใช้อยู่ โดยยกหัวแม่มือขึ้น แต่หญิงคนนั้นคิดว่าเขาคิดหยาบคายกับเธอ จึงซัดเขาเข้าที่ใบหน้าชายผู้โชคร้ายนั้นที่ไม่รู้เหตุผลว่าทำไม

การสัมภาษณ์ทางการวิจัย
การรวบรวมข้อมูลของนักวิจัยโดยใช้วิธีสัมภาษณ์ เป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะที่ผู้รวบรวมข้อมูลมีโอกาสสื่อสารโดยการพบปะ พูดคุย สนทนากับผู้ให้ข้อมูลโดยตรง ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้พูดให้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยผู้สัมภาษณ์อย่าแย่งพูดเสียเองและควรให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีการพักบ้างหากการสัมภาษณ์ใช้เวลานาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย สำหรับภาษาพูดทั่วๆ ไป ให้สังเกตระดับเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนท้ายประโยคจะแสดงออกซึ่งความต้องการของผู้พูด เช่น การพูดประชด การพูดเยาะเย้ย การถามคำถาม ฯลฯ นอกจากนั้นแล้วระดับเสียงยังถูกใช้เป็นเสมือนเครื่องหมายวรรคตอนของการพูดอีกด้วย เช่น ถ้าผู้พูดยังไม่ต้องการหยุดพูด มักจะไม่ปล่อยให้ระดับเสียงต่ำลงตอนท้ายประโยค
แต่มักจะใช้เสียงในระดับเดิม หรือใช้ระดับสูงกว่าปกติในตอนท้ายประโยค การใช้ระดับน้ำเสียงแบบนี้เป็นการสื่อสารให้คู่สนทนาทราบว่า “ผมยังพูดไม่จบคุณอย่างพึ่งแทรกขึ้นมาตอนนี้”
นอกจากคำพูดของผู้ให้สัมภาษณ์แล้ว ระหว่างการสัมภาษณ์นักวิจัยควรสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ ประกอบไปด้วย ทั้งสังเกตปฏิกิริยาโต้ตอบการให้ข้อมูลทั้งที่เป็นคำพูดและภาษากายด้วย ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วเรามักจะไม่อยู่นิ่งขณะที่พูด แต่จะขยับส่วนต่างๆ ของร่างกายประกอบไปด้วยไม่มากก็น้อยในแทบจะทุกประโยคก็ว่าได้ ในหนังสือที่ชื่อว่าภาษาท่าทาง ของ ดร.สุมิตร คุณานุกร ได้กล่าวไว้ว่า การเข้าใจภาษาท่าทางเป็นศิลปะที่ถ่ายทอดได้ สามารถฝึกฝนเองได้โดยอาศัยการสังเกต แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปเราจะไม่สังเกตสิ่งที่เราคิดไม่ถึงหรือไม่ยอมรับว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง เรามักคิดว่าการสื่อสารนั้นเกิดจากการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเท่านั้น มีน้อยคนที่จะรับรู้ว่า ในการสื่อสารระหว่างบุคคลนั้น ยังมีภาษาที่ใช้กันอยู่เสมอที่ไม่ได้แสดงออกทางคำพูด นั่นก็คือภาษาท่าทาง อากัปกิริยาท่าทางและร่างกายของคน เราส่งภาษาอยู่ตลอดเวลา เราขมวดคิ้วเมื่อเวลาที่ไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง เรายักไหล่เมื่อไม่เห็นความสำคัญ ไม่ยี่หระ ยักคิ้วหลิ่วตาแสดงการล้อเลียน หรือเพื่อส่งสัญญาณลับถอนหายใจแสดงความโล่งอก ฯลฯ ทั้งนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ในการสัมภาษณ์พูดจากันนั้นเราควรใช้ทั้งสองภาษาคือภาษาพูดและภาษาท่าทาง และในการรับฟัง เราก็ควรฟังทั้งคำพูดและสังเกตภาษาท่าทางของผู้พูดไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การสื่อความหมายและการรับความหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามความประสงค์ ทั้งนี้ข้อมูลจากการวิจัยชี้ว่าร้อยละ 65 ของการสื่อสารของเราถูกส่งออกมาโดยการไม่ได้แสดงออกทางคำพูด นั้นหมายถึงว่าเมื่อเรากำลังพูด ผู้ฟังจะรับข้อมูลจากภาษาท่าทางมากกว่า เหมือนกับสำนวนที่ว่า “Actions speak louder than words” (การกระทำเสียงดังกว่าคำพูด) (Smethurst:1986)
การสื่อความหมายที่ไม่ได้แสดงออกทางคำพูดจึงมีความสำคัญในการสัมภาษณ์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะนักวิจัยจะต้องสังเกตเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ผู้ถูกสังเกตไม่เต็มใจที่จะเล่าออกมาเป็นคำพูด อาจเพราะไม่แน่ใจข้อเท็จจริง หรือกลัวว่าบอกแล้วจะเป็นภัยแก่ตัวเอง ซึ่งเป็นการ รวบรวมข้อมูลในเชิงคุณภาพที่รวมถึงข้อมูลจากสถานการณ์ ปรากฏการณ์ ปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข้อมูลจากประวัติศาสตร์ รวมถึงเงื่อนไขในการดำเนินชีวิต เช่น ทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้ข้อมูลทางสถิติไม่ใช่เป็นทั้งหมดของการศึกษาเชิงปริมาณ แต่วัตถุประสงค์หลักของสถิติเป็นการทดสอบเพื่อยืนยันหรือขัดแย้งกับความเข้าใจเบื้องต้นในข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์ ดังนั้นการวิจัยจึงไม่ควรยึดถือกับข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เพราะข้อมูล
ทั้งสองอย่างมีทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่ในตัวเอง จึงไม่มีข้อมูลใดที่เหนือกว่า ‘Neither one is markedly superior to the other in all respects’ (Ackroyed and Hughes:1992)






ข้อจำกัดด้านภาษาของนักวิจัย
ในการดำเนินการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อความถูกต้องของข้อมูลการวิจัยอย่างสำคัญ เพราะภาษาที่ใช้ในประเทศไทยนอกจากภาษาไทยภาคกลางที่ใช้เป็นภาษาราชการแล้ว ยังมีภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้ในการสื่อสารกันแตกต่างกันในแต่ละภาค เช่น ภาษาถิ่นใต้ ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอิสาน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อนักวิจัยเดินทางไปเก็บข้อมูลจากชาวบ้านในหมู่บ้านแถบชายแดน ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยทางภาคใต้ที่พูดภาษายาวี หรือชายแดนทางด้านตะวันออกแถบ จังหวัดตราด ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมร หรือการเก็บข้อมูลจากชาวไทยภูเขาแถบดอยตุง จังหวัดเชียงราย ที่ชาวบ้านรู้ภาษาไทยภาคกลางอย่างจำกัดนั้น ซึ่งโดยปกตินักวิจัยจะสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านโดยการใช้ภาษาพูดที่เข้าใจได้ง่ายเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวชาวบ้าน แต่ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องใช้ล่ามมาเป็นผู้ช่วยในการเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน ก็มีความเสี่ยงจากคุณภาพการแปลของล่าม และบางครั้งปัจจัยด้านภาษาเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นตัวแปรหนึ่งใน จึงอาจจำเป็นต้องใช้วิธีว่าจ้างพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนในท้องถิ่นจากหมู่บ้านต่างๆ ดังนั้น การดำเนินการวิจัยจึงต้องใช้การเก็บข้อมูลจากหลากหลายวิธีประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการและเชื่อถือได้
กล่าวโดยสรุป ภาษาเป็นผลิตผลของวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสามารถดัดแปลงแก้ไขเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สังคมใดที่มีคำศัพท์ต่างๆ ในด้านภาษาไม่เพียงพอในการแสดงความคิดหรือถ่ายทอดเหตุการณ์ใหม่ๆ ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องยืมภาษาจากเจ้าของวัฒนธรรมใหม่นั้นมาใช้ อย่างไรก็ตาม ในทุกสังคมมีคำศัพท์เพียงพอสำหรับอธิบายสิ่งที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของตน ถ้าจะมีภาษาแคบเกินไปหรือไม่พอก็เพราะการค้นคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ในสังคมที่เจริญแล้วที่แพร่กระจายเข้าไปในสังคมดั้งเดิม ปัจจุบันยังไม่อาจจะกล่าวได้ว่าภาษาใดเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก เพราะขึ้นอยู่กับแต่ละภาค แต่ละส่วนของโลก นอกจากนี้ การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูดก็มีความสำคัญไม่น้อย ซึ่งผู้ใช้ควรระมัดระวังในการสื่อสารกับคนต่างวัฒนธรรม ไม่เช่นนั้นอาจเป็นปัญหา ทำให้การสื่อสารเข้าใจกันได้อย่างไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการวิจัย ทำให้มีผลกระทบต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยโดยใช้เครื่องมือแบบการสัมภาษณ์ ซึ่งต้องการความแม่นตรงและเชื่อถือได้



อ้างอิง

สุพัตรา สุภาพ. สังคมวิทยา.แผนกสังคมวิทยามนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์, 2521.
สุมิตร คุณานุกร. ภาษาท่าทาง. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,โรงพิมพ์แสงรุ้งการพิมพ์, 2524.
Ackroyed, Stephen and John Hughes. Data Collection in Context. New York:
Longman.1992.
Barry Tomalin & Susan Stempleski. Cultural Awareness. Oxford University
Press,1998.
Brown, H.D. Methodology in Language Teaching: an anthology of current practice. Cambridge University Press, 2002.
Fantini, E. Alvino. New Ways in Teaching Culture. Pantagraph Printing,Blooming IL, USA.1977.
Locker, K.O. Business and Administrative Communication (Seventh Edition). The Mc Graw Hill Company, 2006.
Smethurst. A.O. “Did you see what they said ?” Air Command and Staff
collage,Maxwell AFB, AL. 1986.

-----------------------------------------------
ผู้เขียนบทความ:
นาวาเอกหญิง วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาหลักการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
-ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสนศาสตร์ วิชาเอกนโยบายสาธารณะและการบริหารโครงการ
คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2529)
-ปริญญาโท ศิลปศาสตร์ สถาบันภาษา สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2549)
-กำลังศึกษาปริญญาเอก สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มวิชาการสอนภาษาอังกฤษ)
มหาวิทยาลัยศิลปากร